สินค้าคงคลัง (โปรดดูจำนวนสำหรับการขาย)

ช่อง inventory ในแค็ตตาล็อกสินค้าของคุณแสดงระดับสต็อกสำหรับสินค้าแต่ละรายการที่พร้อมวางขายในร้านค้าบน Facebook หรือในบัญชี Instagram Shopping ของคุณ โดยค่านี้จะแสดงในหน้ารายละเอียดสินค้า (PDP) และช่วยให้ผู้ซื้อทราบว่ามีสินค้าที่พร้อมจำหน่ายกี่รายการ ซึ่งการทำให้ค่านี้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอจะเป็นประโยชน์ต่อประสบการณ์การใช้งาน เนื่องจากค่านี้เป็นตัวกำหนดว่าสินค้าของคุณจะหมดสต็อกเมื่อใด หรืออาจนำไปสู่การขายเกินจำนวนที่มีได้หากค่าไม่ถูกต้อง

หมายเหตุ: ระบบกำลังจะยกเลิกช่อง inventory และแทนที่ด้วยช่อง quantity_to_sell_on_facebook แบบใหม่ แม้เราจะรองรับชื่อช่องแบบเดิมต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่เราขอแนะนำให้คุณใช้ชื่อแบบใหม่ โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอัพเดตนี้ในช่องที่รองรับสำหรับสินค้า - โฆษณาแค็ตตาล็อก Advantage+ และการค้า

หมายเหตุ: รายการที่ไม่ได้ตั้งค่าสินค้าคงคลังจะไม่สามารถแท็กหรือซื้อได้ อย่างไรก็ตาม คุณจะยังสามารถใช้รายการดังกล่าวสำหรับโฆษณาแค็ตตาล็อก Advantage+ ที่ไม่มีการชำระเงินได้อยู่

ความผันผวนของสินค้าคงคลัง

ช่อง inventory เป็นแบบไดนามิก ซึ่งหมายความว่าค่าของสินค้าคงคลังจะผันผวนเมื่อมีคนซื้อสินค้าจากร้านค้าบน Facebook หรือบัญชี Instagram Shopping ของคุณ เมื่อใดก็ตามที่ผู้ใช้ทำการสั่งซื้อ ระดับสินค้าคงคลังที่เกี่ยวข้องจะลดลง

แพลตฟอร์มการค้าจะเพิ่มค่านี้หรือเติมสต็อกสินค้าโดยอัตโนมัติในกรณีที่มีการยกเลิกที่เริ่มดำเนินการโดยผู้ใช้ ในกรณีที่มีการยกเลิกที่เริ่มดำเนินการโดยผู้ขาย คุณสามารถเติมสต็อกสินค้า ณ เวลาที่มีการยกเลิกและเพิ่มระดับสินค้าคงคลังที่เกี่ยวข้องได้โดยการตั้งค่าช่อง restock_items ของ ตำแหน่งข้อมูล API การยกเลิก

ค่าที่คุณระบุผ่านการอัพโหลดแค็ตตาล็อกสินค้าหรือด้วยเทคนิคอื่นๆ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่กลยุทธ์การอัพเดตสินค้าคงคลัง) จะถือว่าเป็นแหล่งที่มาตามข้อเท็จจริง และจะมีการนำมาใช้เขียนทับค่าที่แคชในฝั่งแบ็คเอนด์ของเราเสมอ

เราจะยังคงนับสินค้าคงคลังประเภทต่อไปนี้ในฝั่งของเรา

  • สินค้าคงคลังที่ระบุ คือค่าที่คุณระบุผ่านการอัพโหลดแค็ตตาล็อกสินค้าหรือด้วยเทคนิคอื่นๆ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่กลยุทธ์การอัพเดตสินค้าคงคลัง)
  • สินค้าคงคลังที่พร้อมจำหน่าย คือค่าที่ลูกค้าสามารถซื้อได้ และจะนำคำสั่งซื้อที่ไม่ได้ดำเนินการมาพิจารณาด้วย

โปรดดูวงจรชีวิตของสินค้าเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทสินค้าคงคลังเหล่านี้

สินค้าที่หมดสต็อก

เมื่อมีคนซื้อสินค้าในร้านค้าบน Facebook หรือบัญชี Instagram Shopping ของคุณ ค่า inventory จะลดลง เมื่อค่านี้ลดลงถึง 0 เราจะทำเครื่องหมายสินค้านั้นๆ เป็น “หมดสต็อก” และจำกัดไม่ให้ผู้ใดสามารถซื้อสินค้าดังกล่าวเพิ่มได้ คุณควรพยายามอย่างเต็มที่ในการเติมสต็อกสินค้าอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากสินค้าที่ “หมดสต็อก” จะส่งผลในแง่ลบต่อประสบการณ์ของผู้ใช้และการรับรู้แบรนด์ของคุณ

หากผู้ซื้อพบสินค้าที่หมดสต็อก เราจะพยายามอย่างเต็มที่ในการเปลี่ยนหน้ารายละเอียดสินค้าไปเป็นแบบสินค้าที่มีสินค้า “ในสต็อก” ตามค่า inventory ของแบบสินค้าที่มีในแค็ตตาล็อกสินค้าของคุณ

สินค้าที่เลิกผลิต

เมื่อสินค้าเลิกผลิตแล้ว คุณอาจต้องการลบสินค้านั้นออกจากแค็ตตาล็อกสินค้าของคุณ แต่เราไม่แนะนำวิธีนี้

การลบสินค้าออกจากแค็ตตาล็อกอาจทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ เช่น แท็กสินค้าและรูปภาพหายไป เราขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าให้คุณลบสินค้าหลังจากเวลาผ่านไปพอสมควรแล้วเท่านั้น (ผ่านไปหลายเดือน)

คุณควรตั้งค่าช่อง visibility ของสินค้าที่เลิกผลิตให้เป็น staging แทนการลบสินค้าออก ซึ่งวิธีนี้จะทำให้มั่นใจได้ว่าแพลตฟอร์มการค้าสามารถเชื่อมโยงสินค้าของคุณกลับไปยังรายการที่รู้จักได้ และจัดการสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างราบรื่น

วงจรชีวิตของสินค้า

ทุกครั้งที่คุณอัพเดตสินค้าคงคลัง เราจะอัพเดตสินค้าคงคลังที่ระบุ โดยเลขจำนวนนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับเลขจำนวนรายการที่พร้อมจำหน่ายให้ลูกค้าซื้อ เราจะติดตามคำสั่งซื้อที่เข้ามา (ซึ่งอาจอยู่ในสถานะที่แตกต่างกัน) และลบคำสั่งซื้อที่ไม่ได้รับการตอบรับออกไปเพื่อคำนวณจำนวนสินค้าคงคลังสุดท้ายที่พร้อมจำหน่าย ซึ่งเลขจำนวนนี้จะไม่มีการเปิดเผยนอกแพลตฟอร์มของเรา

สินค้าคงคลังที่พร้อมจำหน่าย = สินค้าคงคลังที่ระบุ - คำสั่งซื้อที่ไม่มีการตอบรับ

หลังจากรับทราบคำสั่งซื้อแล้ว จะมีเวลาบัฟเฟอร์ 30 นาทีเพื่อให้คุณสามารถประมวลผลคำสั่งซื้อและอัพเดตจำนวนสินค้าคงคลัง (ผ่านแค็ตตาล็อก) ก่อนที่เราจะลบคำสั่งซื้อที่รับทราบเหล่านั้นออกจากตัวนับจำนวนของเรา

การขายเกินจำนวนที่มี

เพื่อปรับขนาดแพลตฟอร์มการค้าให้รองรับผู้ค้าหลายพันราย เราได้ตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าจะไม่สนับสนุนการจัดการสินค้าคงคลังแบบซิงโครไนซ์ ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่สนับสนุนการทำการซื้อขนาดเล็กที่ควบคู่ไปกับการลดระดับสต็อกในคลังสินค้าของคุณ หากใช้สินค้าคงคลังของคุณร่วมกันในหลายช่องทาง คุณอาจขายสินค้าเกินจำนวนที่มีบน Facebook หรือ Instagram ได้โดยไม่คาดคิด ซึ่งกรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้กับสินค้าขายได้เร็วที่มีจำนวนจำกัด

เมื่อคุณไม่สามารถดำเนินการตามคำสั่งซื้อให้สำเร็จได้เนื่องจากการขายเกินจำนวนที่มี คุณควรเริ่มทำการยกเลิก และตั้งค่า reason_code ให้เป็น OUT_OF_STOCK

หากคุณประสบปัญหาการขายสินค้าเกินจำนวนที่มีอยู่บ่อยครั้ง คุณสามารถดำเนินการตามคำสั่งซื้อให้บ่อยขึ้น และปรับระดับสินค้าคงคลังของคุณให้สอดคล้องกัน

กลยุทธ์การผสานการทำงานของสินค้าคงคลัง

คุณสามารถอัพเดตสินค้าคงคลังด้วยวิธีต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับประเภทการผสานการทำงานที่คุณใช้อยู่ดังนี้

  • การผสานการทำงานโดยใช้ UI ตัวจัดการการค้า (ชุดสินค้าขนาดเล็ก การทดสอบ ฯลฯ)
  • ฟีดที่มีการอัพโหลดตามตารางเวลาหรือมีการอัพโหลดด้วยตนเอง
  • การใช้ API ฟีด
  • การใช้ API แบตช์

กลยุทธ์การอัพเดตสินค้าคงคลัง

เนื่องจากลักษณะแบบไม่ซิงโครไนซ์ของระบบแบบกระจาย ค่าของ inventory ในแค็ตตาล็อกสินค้าของคุณจึงอาจไม่ซิงค์กัน ไม่ว่าคุณจะอัพเดตระดับของสินค้าคงคลังเร็วเพียงใดก็ตาม ด้านล่างนี้คือเทคนิคบางประการที่คุณอาจต้องพิจารณาเพื่อลดสภาวะการแข่งขันลง

สินค้าคงคลังที่จัดสรรล่วงหน้า

วิธีหลีกเลี่ยงการขายเกินจำนวนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ การจัดสรรสินค้าคงคลังไว้ล่วงหน้าสำหรับช่องทางร้านค้าบน Facebook หรือ Instagram Shopping การกำหนดสินค้าคงคลังไว้โดยเฉพาะสำหรับช่องทางการขายแต่ละช่องทางเป็นการรับประกันว่าการขายที่เกิดขึ้นในแต่ละช่องทางจะไม่รบกวนซึ่งกันและกัน ซึ่งกลยุทธ์นี้สามารถนำไปปรับใช้กับแค็ตตาล็อกสินค้าบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้

สินค้าที่ขายได้ช้า

สินค้าที่ขายได้ในอัตราปกติหรือสินค้าที่มีจำนวนในคลังมากจะมีความเสี่ยงในการขายเกินจำนวนค่อนข้างต่ำ ในสถานการณ์เช่นนี้ คุณสามารถคงกลยุทธ์การอัพเดตแค็ตตาล็อกสินค้าให้เรียบง่ายได้ดังนี้

  • กำหนดค่าฟีดแบบตามตารางเวลาสำหรับการอัพเดตรายวัน/รายชั่วโมง ฟีดนี้ควรมีทุกช่อง รวมถึงค่า inventory ที่เป็นปัจจุบันที่สุด

สินค้าที่ขายได้เร็ว

สำหรับสินค้าที่ขายได้เร็ว ซึ่งมีจำนวนสินค้าคงคลังไม่มากหรือมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก คุณอาจต้องอัพเดตช่องที่มีค่าไม่แน่นอน เช่น inventory ให้ทันท่วงทีมากขึ้น โดยคุณสามารถใช้ API แบตช์แบบเรียลไทม์เพื่อวัตถุประสงค์นี้ ต่อไปนี้คือกลยุทธ์ทั่วไปที่คุณสามารถทำตามได้

  • กำหนดค่าฟีดแบบตามตารางเวลาสำหรับการอัพเดตรายวัน/รายชั่วโมง โดยฟีดนี้ควรมีช่องแค็ตตาล็อกสินค้าทั้งหมดที่จำเป็นต้องระบุ และไม่ต้องใส่ช่องที่มีค่าไม่แน่นอน เช่น inventory ฟีดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออัพเดตช่องที่มีลักษณะคงที่มากกว่า และเลื่อนการอัพเดตช่องที่มีค่าไม่แน่นอนออกไปโดยใช้ API แบบเรียลไทม์
  • ใช้ API แบตช์แบบเรียลไทม์เพื่ออัพเดตช่องที่มีค่าไม่แน่นอน เช่น inventory เมื่อค่าดังกล่าวเปลี่ยนแปลงในฝั่งแบ็คเอนด์ของคุณ หรือเปลี่ยนแปลงในระดับความถี่คงที่ โดยสิ่งสำคัญคือช่องที่อัพเดตโดยใช้เทคนิคนี้ต้องไม่รวมอยู่ในฟีดของคุณเนื่องจากเหตุผลด้านความสอดคล้อง

ต่อไปนี้คือตัวอย่างการอัพเดตโดยใช้ API แบตช์แบบเรียลไทม์

curl \
  -d @body.json \
  -H "Content-Type: application/json"
  {
    "access_token": "<ACCESS_TOKEN>",
    "item_type": "PRODUCT_ITEM",
    "requests": [      
      {
        "method": "UPDATE",
        "retailer_id": "SKU1234567",
        "data": {
          "inventory": "1337",
        }
      }
    ]
  } https://graph.facebook.com/<CATALOG_ID/batch

คำขอ API แบตช์เป็นแบบไม่ซิงโครไนซ์ คุณควรตรวจสอบสถานะคำขอและผลลัพธ์ของคำขอเพื่อให้แน่ใจว่าการอัพเดตทั้งหมดของคุณสำเร็จ โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่เอกสารประกอบเกี่ยวกับ API แบตช์

หากคุณกำลังจัดการสินค้าที่มีจำนวนน้อย คุณสามารถอัพเดตสินค้าแต่ละรายการแยกกันโดยใช้ API กราฟโดยตรงแทนการใช้ API แบตช์แบบเรียลไทม์ได้อีกด้วย วิธีนี้จะใช้ได้กับสินค้าที่มีจำนวนน้อยเท่านั้น เนื่องจากมีการจำกัดอัตราและมีการจำกัดผลลัพธ์ของ API กราฟ โดยจำนวนสินค้าที่แน่นอนที่คุณสามารถอัพเดตโดยใช้วิธีนี้จะขึ้นอยู่กับโควต้าที่ใช้กับแอพ Facebook ของคุณ ซึ่งหลักพิจารณาง่ายๆ คือคุณควรใช้ API แบตช์แบบเรียลไทม์หากคุณกำลังอัพเดตสินค้าครั้งละมากกว่าหนึ่งโหล

หากต้องการอัพเดตช่องใดช่องหนึ่งโดยเฉพาะภายในสินค้า คุณสามารถเรียกใช้ API ต่อไปนี้ได้

curl -d "inventory=1337" -X POST 
https://graph.facebook.com/<FACEBOOK_PRODUCT_ID>
access_token: PAGE_ACCESS_TOKEN

หากใช้ API กราฟ ให้ใช้ ID สินค้าบน Facebook หากใช้ API แบตช์ ให้ใช้ ID ของคุณเอง หรือที่เรียกอีกอย่างว่า retailer_id

เกณฑ์ของสินค้าคงคลัง

อีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้กันทั่วไปในการลดปัญหาการขายเกินจำนวนที่มีคือ การใช้แนวทางที่รัดกุมในการจัดสรรสินค้าคงคลัง ตัวอย่างเช่น เมื่อรายการใดรายการหนึ่งใกล้จะหมดสต็อกตามที่ระบุไว้ในคลังสินค้าของคุณ คุณสามารถตั้งค่าระดับของสินค้าคงคลังในแค็ตตาล็อกสินค้าให้เป็นศูนย์ได้ วิธีนี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการขายต่ำกว่าจำนวนที่มี แต่ก็เป็นประโยชน์เช่นกันหากกังวลเรื่องการขายเกินจำนวน

หากคุณรู้ว่าสินค้าแต่ละรายการของคุณขายได้เร็วเพียงใด คุณสามารถแบ่งสินค้าออกเป็นบักเก็ตต่างๆ และใช้เกณฑ์อื่นสำหรับบักเก็ตแต่ละรายการตามโปรไฟล์การขายได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว สินค้าที่ขายได้เร็วจะต้องใช้ค่าเกณฑ์ที่สูงกว่า ในขณะที่สินค้าที่ขายได้ช้าอาจใช้ค่าเกณฑ์ที่ต่ำกว่าสำหรับการทำเครื่องหมายว่าสินค้าหมดสต็อก