เริ่มต้นใช้งาน Android

ในขณะนี้ Audience Network มีเพียงการประมูลเท่านั้น

ขณะนี้ Audience Network ใช้เพียงการประมูลเพื่อแสดงโฆษณาในแอพ iOS และ Android เท่านั้น คุณจำเป็นจะต้องย้ายแอพของคุณจากการนำเสนอโฆษณาแบบลดหลั่นไปใช้การประมูล จึงจะสามารถสร้างรายได้ด้วย Audience Network ได้

โปรดอ่านเพิ่มเติมจากบล็อกโพสต์ Audience Network ของเรา

Meta Audience Network ช่วยให้คุณสามารถสร้างรายได้จากแอพ Android ของคุณด้วยโฆษณาบน Facebook ได้ โดยคู่มือนี้จะอธิบายถึงการผสานการทำงาน SDK ทุกขั้นตอนให้คุณทราบ

ข้อกำหนดเบื้องต้น

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ติดตั้ง Android Studio แล้ว

โปรดดูคำถามที่พบบ่อยสำหรับเวอร์ชั่นของระบบปฏิบัติการขั้นต่ำที่ Audience Network SDK สนับสนุน

ขั้นตอนที่ 1: การสร้างโปรเจ็กต์ใหม่

ขั้นตอนที่ 2: การระบุ SDK

ขั้นตอนที่ 3: โหมดข้อผิดพลาดในการผสานการทำงาน (ไม่บังคับ)

ขั้นตอนที่ 1: การสร้างโปรเจ็กต์ใหม่

คุณสามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้หากคุณมีโปรเจ็กต์ที่ต้องการผสานการทำงาน Audience Network เข้าไปอยู่แล้ว

เริ่มใช้งาน Android Studio และเลือก "Start a new Android Studio project" (เริ่มโปรเจ็กต์ Android Studio ใหม่)



ตั้งชื่อโปรเจ็กต์ของคุณและระบุโดเมนของบริษัท
"Package name" (ชื่อแพ็คเกจ) จะเป็นตัวระบุหากคุณตัดสินใจที่จะอัพโหลดแอพของคุณลงใน Google Play Store



ตั้งค่าเวอร์ชั่น Android SDK ขั้นต่ำ โดย Audience Network กำหนดให้ใช้ API 15 ขึ้นไป
แต่เราจะใช้ API 21 เพื่อประโยชน์ของตัวอย่างเหล่านี้



เพิ่ม "Empty Activity" (กิจกรรมว่างเปล่า) ลงในโปรเจ็กต์ของคุณ



ตั้งชื่อกิจกรรมเริ่มต้นและคลิก "Finish" (เสร็จสิ้น)

ขั้นตอนที่ 2: การระบุ SDK

Audience Network SDK เป็นส่วนหนึ่งของ Facebook SDK ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อดาวน์โหลดและรวมส่วนดังกล่าวไว้ในโปรเจ็กต์ของคุณ

การใช้ Gradle



เพิ่มคำสั่งคอมไพล์ต่อไปนี้ใน build.gradle ระดับแอพ (ไม่ใช่โปรเจ็กต์!) เพื่อใช้ Audience Network SDK ล่าสุดดังนี้

dependencies {
compile 'com.facebook.android:audience-network-sdk:6.+'
}

หากมีปัญหาขณะแก้ไข Audience Network SDK ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ซิงค์ไฟล์ Gradle ของคุณแล้วและลองเริ่มการทำงานของ Android Studio ใหม่อีกครั้ง

การติดตั้งด้วยตัวเอง (ไม่แนะนำ)

หากใช้ Intellij IDEA หรือ Eclipse ให้ดาวน์โหลดและแตกไฟล์ Audience Network SDK สำหรับ Android ในโฟลเดอร์ AudienceNetwork/bin ให้คัดลอกไฟล์ AudienceNetwork.aar และวางไฟล์ไว้ในโฟลเดอร์ /libs ในโปรเจ็กต์ที่คุณอาจต้องสร้างไดเรกทอรีหากยังไม่มี จากนั้น เพิ่มบรรทัดต่อไปนี้ใน build.gradle ของแอพ

repositories {
flatDir {
dirs 'libs'
}
}

dependencies {
...
compile(name: 'AudienceNetwork', ext: 'aar')
}

หากใช้ AudienceNetwork.jar สำหรับโปรเจ็กต์ของคุณ ในโฟลเดอร์ AudienceNetwork/bin ให้เปลี่ยนชื่อ AudienceNetwork.aar เป็น AudienceNetwork.zip แล้วแตกไฟล์ classes.jar และเปลี่ยนชื่อเป็น AudienceNetwork.jar จากนั้นวางไฟล์ AudienceNetwork.jar ไว้ในโฟลเดอร์ /libs ในโปรเจ็กต์ที่คุณอาจต้องสร้างไดเรกทอรีหากยังไม่มี ตรวจสอบให้แน่ใจว่า UI ของ IDE แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ หากคุณใช้ Intellij IDEA หรือ Eclipse ให้คลิกขวาที่ไฟล์ libs/AudienceNetwork.jar และเลือก "Add as Library" (เพิ่มเป็นไลบรารี)

แม้ว่าจะไม่จำเป็น แต่เราขอแนะนำให้คุณตั้งค่าโปรเจ็กต์ของคุณให้ทำงานกับบริการ Google Play ตามที่ระบุไว้ที่นี่ วิธีนี้จะช่วยให้ Audience Network SDK สามารถดึงข้อมูล ID การโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 3: โหมดข้อผิดพลาดในการผสานการทำงาน (ไม่บังคับ)

เมื่อผสานการทำงาน Audience Network SDK คุณสามารถใช้การตั้งค่าโหมดข้อผิดพลาดในการผสานการทำงานเพื่อตรวจสอบยืนยันว่าการผสานการทำงานของคุณทำงานตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีนี้จะช่วยให้คุณควบคุมลักษณะการทำงานของ SDK ได้เมื่อมีการใช้งานไม่ถูกต้อง

  • INTEGRATION_ERROR_CRASH_DEBUG_MODE: แอพจะเกิดข้อขัดข้องหากบิลด์ของคุณมี FLAG_DEBUGGABLE บน Android มิฉะนั้น ระบบจะใช้ INTEGRATION_ERROR_CALLBACK_MODE (แนะนำเมื่อทำการทดสอบ)
  • INTEGRATION_ERROR_CALLBACK_MODE: แอพจะเรียกใช้การเรียกกลับ AdListener.onError(Ad, AdError) หากพบข้อผิดพลาดในการผสานการทำงาน
// Example for setting the SDK to crash when in debug mode
AdSettings.setIntegrationErrorMode(INTEGRATION_ERROR_CRASH_DEBUG_MODE);

ขั้นตอนถัดไป