ปุ่มเข้าสู่ระบบ

ปุ่มเข้าสู่ระบบเป็นวิธีง่ายๆ ในการเริ่มต้นกระบวนการเข้าสู่ระบบด้วย Facebook บนเว็บไซต์หรือแอพบนเว็บของคุณ

หากผู้ใช้ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบแอพของคุณ ผู้ใช้เหล่านั้นจะเห็นปุ่มนี้ และเมื่อคลิกที่ปุ่มนี้ ระบบก็จะเปิดกล่องการเข้าสู่ระบบขึ้นมา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ ส่วนผู้ใช้ที่เข้าสู่ระบบอยู่แล้วจะไม่เห็นปุ่มใดๆ หรือคุณจะเลือกแสดงปุ่มออกจากระบบให้กับผู้ใช้เหล่านี้ก็ได้เช่นกัน

หากคุณแสดงปุ่มออกจากระบบ เมื่อผู้ใช้ใช้ปุ่มดังกล่าวเพื่อออกจากระบบ ผู้ใช้จะออกจากระบบทั้งแอพของคุณและจาก Facebook

ปุ่มเข้าสู่ระบบได้รับการออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับ JavaScript SDK เท่านั้น หากคุณกำลังสร้างแอพมือถือหรือไม่สามารถใช้ JavaScript SDK ของเราได้ คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้าสู่ระบบสำหรับแอพประเภทนั้นๆ แทน

ปุ่มดำเนินการต่อด้วย Facebook จะเข้ามาแทนที่ปุ่มเข้าสู่ระบบเวอร์ชั่นต่างๆ ก่อนหน้านี้ โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่การย้าย

ตัวกำหนดค่าปลั๊กอิน

Width
ขนาดของปุ่ม
ข้อความปุ่ม
รูปร่างเลย์เอาท์ปุ่ม
[?]

ปุ่ม “ดำเนินการต่อในชื่อ {Name}”

ปุ่ม “ดำเนินการต่อในชื่อ {Name}” จะมีข้อความว่า “ดำเนินการต่อในชื่อ {persons' name}” อยู่ และอาจจะมีรูปโปรไฟล์ของบุคคลนั้นๆ อยู่ด้วยก็ได้ หากผู้ใช้เหล่านั้นเข้าสู่ระบบ Facebook ในเบราว์เซอร์เดียวกัน หากต้องการใช้ปุ่ม “ดำเนินการต่อในชื่อ {Name}” คุณจะต้องโหลด JavaScript SDK เสียก่อน โปรดดูคำแนะนำเกี่ยวกับการตั้งค่า JavaScript SDK ที่การเริ่มต้นใช้งานอย่างง่ายสำหรับ JavaScript SDK เปิดใช้งาน “ดำเนินการต่อในชื่อ {Name}” โดยการเพิ่ม data-use-continue-as="true" ลงในการตั้งค่าสำหรับปุ่มของคุณ

คุณไม่สามารถปรับแต่งความสูงของปุ่ม “ดำเนินการต่อในชื่อ {Name}” ได้

ขนาดของปุ่มความสูงความกว้างกำหนดความกว้างเองได้หรือไม่

เล็ก

20 พิกเซล

200 พิกเซล

ไม่ได้

ปานกลาง

28 พิกเซล

200 - 320 พิกเซล

ได้

ใหญ่

40 พิกเซล

240 - 400 พิกเซล

ได้

หากคุณเลือกขนาดที่เกินกว่าพารามิเตอร์สูงสุด ปุ่มดังกล่าวจะใช้ค่าเริ่มต้นเป็นความกว้างสูงสุด

หลักปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับปุ่ม “ดำเนินการต่อในชื่อ {Name}

ปุ่ม “ดำเนินการต่อในชื่อ {Name}” อาจเป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มจำนวนการคลิกและการมีส่วนร่วม ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเห็นรูปโปรไฟล์และชื่อบนปุ่มเข้าสู่ระบบของเราได้ และอาจช่วยให้แอพของคุณเหมาะกับแต่ละบุคคลมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ อาจเป็นเรื่องน่าสับสนได้เช่นกันหากผู้ใช้ไม่ได้คาดหวังว่าจะเห็นชื่อและรูปโปรไฟล์ของตนในบริบทนี้ โปรดพิจารณาสิ่งต่อไปนี้เพื่อดูว่า “ดำเนินการต่อในชื่อ” เหมาะกับแอพของคุณที่สุดหรือไม่

แม้ว่า “ดำเนินการต่อในชื่อ {Name}” จะไม่เหมาะกับแอพของคุณ แต่คุณก็ยังคงสามารถลองใช้ปุ่ม JavaScript SDK แบบใหม่ๆ ที่ระบุว่า “ดำเนินการต่อด้วย Facebook” ได้

กรณีการใช้งานที่แนะนำ

เราให้บริการแก่ฐานผู้ใช้ทั่วโลก และภูมิภาคต่างๆ ก็มีความคาดหวังของผู้ใช้ที่แตกต่างกันไป ให้คำนึงถึงความคาดหวังเหล่านั้นอยู่เสมอเวลาที่ใช้ปุ่มนี้

เหมาะอย่างยิ่งในเวลาดังนี้
  • แอพของคุณเป็นแอพโซเชียล:
    เมื่อผู้คนใช้แอพโซเชียล ผู้ใช้เหล่านี้จะคาดหวังว่าจะได้เชื่อมต่อกับคนอื่นๆ เราได้เห็นแล้วว่า “ดำเนินการต่อในชื่อ {Name}” มีประสิทธิภาพดีในกรณีเหล่านี้

  • ผู้คนในตลาดเป้าหมายใช้โทรศัพท์ร่วมกัน:
    เมื่อมีคนหลายคนใช้โทรศัพท์เดียวกัน “ดำเนินการต่อในชื่อ {Name}” จะช่วยเน้นย้ำให้บุคคลเหล่านี้มั่นใจได้ว่ากำลังใช้บัญชีที่ถูกต้องอยู่

หลีกเลี่ยงในเวลาดังนี้
  • แอพของคุณเป็นแอพใหม่:
    หากแอพของคุณเพิ่งเข้ามาในตลาด ผู้ใช้ของคุณอาจมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะเกิดความสับสนว่าเหตุใดชื่อและรูปโปรไฟล์ของตนจึงแสดงขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยเปรียบเทียบกับแอพซึ่งเป็นที่รู้จักหรือคุ้นเคยที่ผู้ใช้วางแผนที่จะใช้เป็นประจำ

  • ผู้คนในตลาดเป้าหมายมีความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัว:
    ในหลายประเทศ รูปโปรไฟล์ถือเป็นข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวมาก คุณอาจต้องหลีกเลี่ยงโดยใช้ “ดำเนินการต่อในชื่อ {Name}” ในกรณีนี้ เนื่องจากระบบจะแสดงรูปโปรไฟล์ของผู้ใช้ที่เข้าสู่ระบบแล้ว

หลักปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับปุ่มเข้าสู่ระบบ

โปรดปฏิบัติตามหลักปฏิบัติที่ดีที่สุดทั่วไปสำหรับการใช้การเข้าสู่ระบบด้วย Facebook การปฏิบัติตามหลักปฏิบัติที่ดีที่สุด 2 ประการเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเมื่อใช้ “ดำเนินการต่อในชื่อ {Name}

  • ให้วิธีในการออกจากระบบ (นโยบายกำหนดให้มี)
  • ทดสอบและวัดผล นั่นคือ ระบุว่าฟีเจอร์นี้จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อการรับรู้และคอนเวอร์ชั่นของผู้ใช้

หลักปฏิบัติที่ดีที่สุดอื่นๆ บางส่วนที่เป็นไปได้มีดังนี้

  • ระบุอย่างชัดเจนว่าการเข้าสู่ระบบจะทำอะไรได้บ้าง
  • ใช้ตัวยึดตำแหน่ง/ตัวหมุนในขณะที่ปุ่มเข้าสู่ระบบกำลังโหลดอยู่ และนำตัวยึดตำแหน่ง/ตัวหมุนออกเมื่อโหลดปุ่มเสร็จแล้ว ตัวอย่างของโค้ดดังกล่าวมีดังนี้
<script>
var finished_rendering = function() {
  console.log("finished rendering plugins");
  var spinner = document.getElementById("spinner");
  spinner.removeAttribute("style");
  spinner.removeChild(spinner.childNodes[0]);
}
FB.Event.subscribe('xfbml.render', finished_rendering);
</script>
<div id="spinner"
    style="
        background: #4267b2;
        border-radius: 5px;
        color: white;
        height: 40px;
        text-align: center;
        width: 250px;">
    Loading
    <div
    class="fb-login-button"
    data-max-rows="1"
    data-size="large"
    data-button-type="continue_with"
    data-use-continue-as="true"
    ></div>
</div>

การตั้งค่า

นอกเหนือจากการตั้งค่าข้างต้นแล้ว คุณยังสามารถเปลี่ยนรายการต่อไปนี้ได้

การตั้งค่า แอตทริบิวต์ HTML5 คำอธิบาย ตัวเลือก

auto_logout_link

data-auto-logout-link

หากเปิดใช้งาน ปุ่มนี้จะเปลี่ยนเป็นปุ่มออกจากระบบเมื่อผู้ใช้เข้าสู่ระบบแล้ว

false, true

onlogin

data-onlogin

ฟังก์ชั่น JavaScript ที่จะเริ่มทำงานเมื่อกระบวนการเข้าสู่ระบบเสร็จสมบูรณ์

Function

scope

data-scope

รายการสิทธิ์การอนุญาตที่จะร้องขอในระหว่างการเข้าสู่ระบบ

public_profile (ค่าเริ่มต้น) หรือรายการสิทธิ์การอนุญาตที่คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค

size

data-size

เลือกตัวเลือกขนาดมา 1 ตัวเลือกสำหรับปุ่มนั้นๆ

small, medium, large

default_audience

data-default-audience

กำหนดว่าจะเลือกกลุ่มเป้าหมายใดโดยค่าเริ่มต้น เมื่อร้องขอสิทธิ์ในการเขียน

everyone, friends, only_me

การย้าย

ระบบจะย้ายปุ่มแบบเก่าไปใช้ปุ่มแบบใหม่แทน ตารางต่อไปนี้จะแสดงการจับคู่

ปุ่มแบบเก่าความสูงเก่าปุ่มแบบใหม่ความสูงใหม่

ไอคอน

18 พิกเซล

เลิกใช้แล้ว

เลิกใช้แล้ว

เล็ก

18 พิกเซล

เล็ก

20 พิกเซล

ปานกลาง

22 พิกเซล

เล็ก

20 พิกเซล

ใหญ่

25 พิกเซล

เล็ก

20 พิกเซล

ใหญ่พิเศษ

39 พิกเซล

เล็ก

20 พิกเซล

ปุ่ม “Continue as {Name}” แบบใหม่นี้จะมีพารามิเตอร์ที่เรียกว่า button_type ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้สำหรับปุ่มแบบเก่า พารามิเตอร์นี้เป็นวิธีที่คุณใช้ระบุถึงปุ่ม “ดำเนินการต่อด้วย Facebook” หรือ “เข้าสู่ระบบด้วย Facebook” หากคุณไม่ได้ระบุประเภทของปุ่ม ระบบจะแสดงปุ่มเป็นปุ่มใหม่ขนาดเล็กๆ โดยขนาดนี้จะอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับปุ่มแบบเก่า ทั้งนี้ ในกรณีของ x-large ปุ่มจะย่อขนาดลงเล็กน้อย แต่หากคุณระบุพารามิเตอร์ button_type ไว้ ปุ่มของคุณก็จะปรากฏตามที่ระบุ

คุณสามารถทำให้ปุ่มโหลดเร็วขึ้นได้โดยการเปิดใช้ JavaScript SDK โดยเร็วที่สุด แต่ระบบไม่สามารถโหลดปุ่มได้จนกว่าเว็บเพจและ JavaScript จะโหลดเสร็จ จากนั้นจึงจะสามารถสร้าง iframe และโหลดทรัพยากรต่างๆ ในการแสดงปุ่มได้

 <div
    class="fb-login-button"
    data-max-rows="1"
    data-size="<medium, large>"
    data-button-type="continue_with"
    data-width="<100% or px>"
    data-scope="<comma separated list of permissions, e.g. public_profile, email>"
></div>
}

การแปลเป็นภาษาท้องถิ่น:

การโหลดปุ่มเป็นรูปแบบภาษาอื่นจำเป็นต้องใช้ JavaScript SDK จึงจะโหลดรูปแบบภาษานั้นๆ ได้ โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแปล JavaScript SDK เป็นภาษาท้องถิ่นที่การแปลเป็นภาษาท้องถิ่นด้วยโซเชียลปลั๊กอินและ JavaScript SDK

คำถามที่พบบ่อย

ฉันจะใช้ปุ่มนี้เพื่อให้ผู้ใช้เข้าสู่ระบบได้อย่างไร

ทันทีที่มีคนคลิกที่ปุ่มเข้าสู่ระบบและยอมรับกล่องการเข้าสู่ระบบ (กล่าวคือ ทำตามขั้นตอนการเข้าสู่ระบบจนเสร็จสมบูรณ์) แอพของคุณก็จะสามารถใช้ Facebook SDK สำหรับ JavaScript เพื่อเรียกใช้ API ในนามของบุคคลนั้นๆ ได้เลย

คุณไม่จำเป็นต้องตั้งค่าใดๆ เพิ่มเติมในส่วนนี้ แต่คุณสามารถใช้การตั้งค่า onlogin ในปุ่มเพื่อเริ่มใช้งานฟังก์ชั่น JavaScript ของคุณเอง ซึ่งจะทำงานเมื่อมีการเข้าสู่ระบบ

คุณสามารถใช้ปุ่มเข้าสู่ระบบกับโค้ดการลงทะเบียนในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ได้หรือไม่

ใช้ได้ แต่คุณยังจำเป็นต้องใช้ JavaScript SDK ในบางส่วน ทันทีที่กระบวนการเข้าสู่ระบบที่เริ่มต้นจากการคลิกปุ่มเสร็จสิ้นลงแล้ว SDK จะมีสิทธิ์เข้าถึงอ็อบเจ็กต์ authResponse โดยใช้ FB.getLoginStatus() คุณสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้เพื่อส่งอ็อบเจ็กต์การตอบกลับไปยังโค้ดฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของคุณได้ เพื่อทำการลงทะเบียนที่มีอยู่นั้นให้เสร็จสมบูรณ์

ฉันสามารถใช้ปุ่มเข้าสู่ระบบเพื่อร้องขอสิทธิ์การอนุญาตที่ผู้ใช้ได้ปฏิเสธไปแล้วอีกครั้งได้หรือไม่

ปุ่มเข้าสู่ระบบไม่รองรับการส่งคำขออีกครั้ง เนื่องจากการร้องขอสิทธิ์การอนุญาตที่ถูกปฏิเสธไม่ได้สอดคล้องกับถ้อยคำที่อยู่บนปุ่ม หากคุณจำเป็นต้องร้องขอสิทธิ์การอนุญาตอีกครั้ง ให้ตั้งค่าปุ่มที่กำหนดเองและใช้ FB.login() ตามที่อธิบายไว้ในเอกสารประกอบเรื่องการเข้าสู่ระบบด้วย Facebook สำหรับเว็บ

ปุ่มไม่แสดง

ระบบจะแปลงแท็ก <div> เป็นปุ่มที่แสดงขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า XFBML ซึ่งอาศัย JavaScript ใน SDK ในการแยกวิเคราะห์หน้าและทำการแทนที่ต่างๆ หากคุณเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบนหน้าอยู่ตลอด เพื่อเพิ่ม div เหล่านี้หลังจากที่เมธอด init ของ SDK ได้รันไปแล้ว (เช่น ในกล่องโต้ตอบที่สร้างขึ้นแบบไดนามิก) คุณจำเป็นต้องเรียกใช้ FB.XFBML.parse() อีกครั้ง เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงนั้นแสดงผล